วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

40203การเขียนโฮมเพจ

แจ้งกิจกรรม การเขียนโฮมเพจที่ให้นักเรียนชั้น ม.5 จัดทำ

1. แจ้งเรื่องที่ครูผู้สอน
2. รวบรวมข้อมูลทั้งข้อความและรูปภาพ(เป็นไฟล์ภาพ)
3. เก็บข็อมูลในรูปแบบดิจิตอล ใน CD, Flash Drive, ฯลฯ
4. จัดทำรูปเล่มรายงานพร้อมออกแบบ Story board
ประมาณ 10-20 หน้า
5. ส่งงานสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ธันวาคม ในชั่วโมงเรียน
ที่ห้องของตนเองเรียน




ตัวอย่างหน้าเว็บ


รูปเล่มรายงานประกอบด้วย

1. ปกหน้า
2. รองปก
3. คำนำ
4. สารบัญ
5. เนื้อหาพร้อมภาพประกอบ
6. เอกสารอ้างอิง
7. ประวัติผู้จัดทำ
8. ออกแบบ Story board


ตัวอย่าง Story board

การส่งงานของวิชา การเขียนโฮมเพจ ให้ส่ง cd
พร้อมเล่มรายงาน
ใส่ซองเอกสารสีน้ำตาล เขียนชื่อ
ให้เรียนบร้อย ในชั่วโมงเรียน
สัปดาห์ที่ 2 ของ
เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ของแต่ละห้องเรียน

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การแข่งขันสร้างสื่อวิดีโอ

แจ้งนักเรียน 6/3,6/4

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดแข่งขันการสร้างสื่อวิดีโอ
เรื่อง ความสามัคคี ความยาว 10 นาที ครูมีความเห็นว่างาน
มีความสอดคล้องกับงานวิชาเรียนที่สั่ง จึงมอบให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 5 คน ทุกกลุ่ม
สมัครเข้าแข่งขัน แจ้งผ่านความคิดเห็นทุกกลุ่ม
และ
ติดต่อขอดูรายละเอียด
ได้ที่ ครูจตุพร น้อยบุญสุข หรือ
http://www.thaitube.in.th/Register/Page1.aspx

ให้ทุกกลุ่มส่งผลงานภายใน วันที่ 16 มกราคม 2552
ตามเว็บด้านบน

และทุกกลุ่มส่งรูปเล่มใส่แฟ้มพร้อมแผ่น VCD เต็มรูปแบบ
ม. 6/3 ส่ง วันที่ 29 ม.ค 2552

ม. 6/4 ส่ง วันที่ 26 ม.ค 2552

ดูตัวอย่างโฆษณาได้ที่
http://www.adintrend.com/ads.php

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การตัดต่อวิดีโอ

สื่อมัลติมีเดีย เรื่องการตัดต่อวิดีโอ
http://202.143.152.245/40202multimedia/index.htm

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2552 ให้นักเรียน ม.6/3 นำรูปเกี่ยวกับ
ตนเองมาเพื่อใช้ในการสอบปฏิบัติ

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ตัวอย่างการเขียนบท


การออกแบบสร้างสื่อมัลติมีเดีย


วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตสื่อประสมรณรงค์ปลุกจิตสำนึกเพื่อให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม

1. การวิเคราะห์ปัญหา
นักเรียนระดมความคิดและประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่ม ให้บอกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนหรือเยาวชน มาเป็นข้อๆ
1. ......................................................................................
2. ......................................................................................
3. ......................................................................................
4. ......................................................................................
5. ......................................................................................
6. ......................................................................................
7. ......................................................................................
8. ......................................................................................
9. ......................................................................................
จัดลำดับความรุนแรงของปัญหาจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ
1. ......................................................................................
2. ......................................................................................
3. ......................................................................................
นักเรียนระดมความคิดและประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่ม ให้บอกพฤติกรรมที่
เหมาะสมดีงามของนักเรียนหรือเยาวชน มาเป็นข้อๆ
1. ......................................................................................
2. ......................................................................................
3. ......................................................................................
4. ......................................................................................
5. ......................................................................................
6. ......................................................................................
7. ......................................................................................
8. ......................................................................................
9. ......................................................................................

จัดลำดับพฤติกรรมที่เหมาะสมดีงามจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ
1. ......................................................................................
2. ......................................................................................
3. ......................................................................................
2. เลือกเรื่องที่จะทำสื่อประสม ประชาสัมพันธ์ (วีดิทัศน์ เวลา 1-10 นาที) โดยเลือกจากพฤติกรรมที่จำเป็นต้องแก้ไข หรือพัฒนา มากที่สุด คือ
..........................................................................................
3. พิจารณาหาความเป็นไปได้
..........................................................................................
..........................................................................................
..........................................................................................
4. เรื่องย่อ
..........................................................................................
..........................................................................................
..........................................................................................


5. เขียนบทอย่างละเอียด (ตามแบบฟอร์ม)


กลุ่มที่ .........................(สมาชิกในกลุ่ม)

ลำดับที่ ชื่อ – สกุล เลขที่

หน้าที่รับผิดชอบ

1. .........................................................................................
2. .........................................................................................
3. ........................................................................................
4. ........................................................................................
5. ........................................................................................
6. ........................................................................................
7. ........................................................................................
8. ........................................................................................
9. ........................................................................................

บันทึกมอบหมายงาน
............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การถ่ายวิดีโอ



เทคนิคการใช้กล้องวิดีโอถ่ายภาพนับว่าเป็นสำคัญอย่างมาก เพราะผลงานจะออกมาดีหรือไม่ ใช่ขึ้นอยู่กับราคาของกล้อง หรือคุณภาพของกล้องเท่านั้น ตากล้องมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อผลงาน ดังนั้นจะขอแนะนำเทคนิคการถ่ายวิดีโอ ดังนี้



1. อย่าส่ายไปมาไม่มีจุดสนใจที่แน่นอน การถ่ายต่อเนื่องยาวนาน ส่ายกล้องไปมาโดยไม่จับภาพที่จุดสนใจใดๆ จะทำให้ ภาพออกมาไม่น่าสนใจ
2. เลือกจุดสนใจแล้วถ่ายแช่ไว้สัก 5-10 วินาที ในจุดสำคัญที่ต้องการนำเสนอ การทำเช่นนี้จะทำให้คนดูเข้าใจว่าต้องการ ให้ดูอะไร
3. อย่าถ่ายแช่นานๆ โดยไม่มีเหตุอันควร ทำให้คนดูเกิดความเบื่อหน่ายกับขนาดภาพที่อยู่คงที่นานเกินไป
4. ให้เปลี่ยนขนาดภาพหรือเปลี่ยนมุมมองใหม่ เช่น Medium Shot ( MS) เป็น Long Shot ( LS)
5. เปลี่ยนมุมมองด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งที่ยืนไปที่อื่นด้วยการเดินในแนว การเปลี่ยนตำแหน่งยืนของเรานี้ก็มีหลักการ อันหนึ่งคือให้เกิน 30 องศาเป็นอย่างต่ำ สมมุติว่าคุณถ่ายภาพตรงหน้าของวัตถุในช็อทแรก เมื่อต้องเปลี่ยนมุมก็ให้เดิน ไปในแนววงกลมรอบวัตถุโดยให้ทำมุมกับแนวเดิมไม่ต่ำกว่า 30 องศา
6. อย่าหยุดถ่ายกลางคันทันที ในการถ่ายภาพลักษณะต่อเนื่องถ้าหยุดทันทีจะทำให้คนดูเสียความรู้สึก
7. เมื่อต้องเปลี่ยนขนาดภาพถ้าเดินได้อย่าใช้ซูม ทั้งนี้เพราะเมื่อคุณซูมเข้ามุมของการรับแสงจะจำกัดลงตามขนาดภาพที่ แคบลง จะทำให้ภาพจะสั่นไหวง่าย และภาพจะพร่ามัวได้ง่าย
8. อย่าใช้ซูมเปลี่ยนขนาดภาพขณะถ่ายบ่อยเกิน เพราะคนดูจะเกิดอาการมึนกับขนาดภาพที่เปลี่ยนบ่อยๆ นั่นเอง เรา สามารถใช้การซูมมาช่วยเสริมให้น่าดูขึ้นได้เหมือนกันถ้าไม่ใช้บ่อยเกินไป
9. ก่อนการแพนให้มองหาจุดจบที่น่าสนใจ การแพนสั้นๆ พองามสามารถทำได้ แต่ให้หาจุดจบที่น่าสนใจรอไว้ เพราะ เปรียบการแพนคือการนำสายตาผู้ชมไปยังสิ่งที่น่าสนใจ
10. แพนทางเดียวในหนึ่งช็อท อย่าแพนไปแล้วแพนกลับ เพราะผู้ชมเพิ่งเห็นภาพที่คุณแพนผ่านมา การแพนกลับไป ทางเดิมไม่ได้ทำให้ผู้ชมเห็นอะไรเพิ่มขึ้นนอกจากทำให้เบื่อ
11. อย่าเดินเทปหรือหยุดเทประหว่างแพน ถ้าคุณไม่แช่ภาพนิ่งก่อนการแพนและเมื่อหยุด จะทำให้สะดุดทางความ ต่อเนื่อง
12. ทำอย่างไรไม่ให้กล้องสั่น ใช้สองมือช่วยประคอง เช่นมือซ้ายจับข้อมือขวา หรือมือซ้ายเหยียดปลายนิ้วทั้งสี่แตะ ประคองด้านซ้ายของกล้องส่วนนิ้วหัวแม่มือซ้ายกางออกมายันข้อมือขวา
13. การถ่ายสถานที่ ถ่ายป้ายชื่อ นี่ก็เป็นวิธีคลาสสิกที่ทำให้หนังดูมีระดับขึ้น คือถ้ามีก็เริ่มช็อทเปิดด้วยการถ่ายป้ายชื่อถนน หรือชื่อสถานที่หรือวัตถุที่เป็นที่รู้จักกันดี
14. เดินถ่ายตามหลัง ชื่อก็บอกอยู่แล้ว คือเราจะถ่ายข้างหลังคนที่กำลังเดินไปไหนสักแห่ง ก็ให้เดินตามไปแล้วก็ถ่ายตามห ลังไปด้วย จะได้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวและเล่าเรื่องได้ดี แต่อย่าให้ยาวเกินจะออกไปทางน่าเบื่อ
15. การวางตำแหน่งภาพ เมื่อต้องถ่ายใบหน้าคนไม่ได้กำหนดว่าต้องถ่ายหน้าตรง และอยู่กลางภาพหรอกครับ ลอง เปลี่ยนตำแหน่งเฉียงมาทางแก้มของวัตถุแล้วถ่าย MS หรือ CS ก็ได้ โดยเว้นช่องว่างระหว่างกรอบภาพกับจมูกจะทำ ให้การจัดวางภาพดูดีขึ้น
16. ระวังมุมกล้องอย่าให้มีเสาไฟไปอยู่ข้างหลังคน เพราะเมื่อถ่ายออกมาแล้วจะดูตลกมากเหมือนมีเขางอกออกมาจากหัว
17. จะต้องเตรียมตลับล้างหัวเทปติดไว้ในกระเป๋ากล้องเสมอ การเป็นตากล้องที่ดีจะต้องรู้จักมองหาวัตถุดิบที่มาประกอบ เป็นวิดีโอและต้องใส่ไอเดียลงไปด้วย จะทำให้ภาพวิดีโอที่ออกมาดูดีมีคุณค่า เหมาะสมที่จะไปนำเสนอในโอกาส ต่างๆ ต่อไป


งานถ่ายภาพ

ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 และ
6/4 ทุกคนฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพ
รายละเอียดดังนี้

1. ภาพหุ่นนิ่ง จำนวน 2 ภาพ

2. ภาพทิวทัศน์ จำนวน 2 ภาพ

3. ภาพอาคาร จำนวน 2 ภาพ

4. ภาพย้อนแสง จำนวน 2 ภาพ

5. ภาพบุคคล CU จำนวน 2 ภาพ

6. ภาพบุคคล MS จำนวน 2 ภาพ

7. ภาพบุคคล LS จำนวน 2 ภาพ

6/4 ส่งงานวันที่ 15 ธันวาคม 2551
6/3 ส่งงานวันที่ 18 ธันวาคม 2551

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การจัดทำคู่มือสื่อ

ส่วนประกอบของเอกสารคู่มือสื่อ

  1. ปกหน้า

  2. ปกใน

  3. คำนำ

  4. สารบัญ

  5. คำชี้แจง หรือคำแนะนำในการใช้

  6. จุดประสงค์หลัก

  7. ชื่อบท หรือชื่อหน่วย หรือชื่อเรื่อง

  8. จุดประสงค์การเรียนรู้

  9. เนื้อหา

  10. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม